วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

       ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันทำให้แต่ละวันมีการผลิตข้อมูลขึ้นมาจำนวนมากข้อมูลบางส่วนจะถูกนำมาประมวลผลเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆตัวอย่างเช่นข้อมูลจากเว็บไซค์ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่ารวดเร็วในแต่ละวัน ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้เพียงค้นหาข้อความรูปภาพ หรือวีดิทัศน์ ที่ตรงกับความสนใจเท่านั้น แต่ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาประมวลผลและแสดงความรู้ที่แฝงอยู่ได้อย่างมีประสิทธิผล ข้อมูล (Data) คือ สิ่งที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของวัตถุ เหตุการณ์ กิจกรรม โดยบันทึก จากการสังเกต การทดลอง หรือการสำรวจด้วยการแทนรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น บันทึกไว้เป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ และสัญลักษณ์


ตัวอย่างข้อมูลที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

สารสนเทศ (Information) คือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการนำข้อมูลมาประมวลผล เพื่อให้ได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้งานมากขึ้น เช่น ส่วนสูงของนักเรียนหญิงและนักเรียนชายแต่ละคนในชั้นเรียนเป็นข้อมูล จะสามารถสร้างสารสนเทศจากข้อมูลเหล่านี้ได้หลายแบบ เพื่อนำไปใช้ในจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การนำข้อมูลเหล่านี้ไปเรียบเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย หรือ การหาค่าเฉลี่ยของส่วนสูงของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เห็นความแตกต่างของข้อมูลและสารสนเทศอย่างชัดเจนมากขึ้น



ตัวอย่างข้อมูลส่วนสูงรายปีของนักเรียน
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าการสร้างสารสนเทศซึ่งในที่นี้คือส่วนสูงเฉลี่ยของนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่1จะสามารถถูกนำไปใช้เพื่อวิเคราะห์และตอบคำถามว่าส่วนสูงของนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสารสนเทศเหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ




ตัวอย่างการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อประกอบการตัดสินใจ
ความรู้(Knowledge)เป็นคำที่มีความหมายกว้างและใช้กันโดยทั่วไปในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์หรือวิศวกรรมคอมพิวเตอร์กล่าวถึงความรู้ไว้ในหลายแง่มุม แต่ความหมายในแง่มุมหนึ่งที่สอดคล้องกับข้อมูลและสารสนเทศความรู้คือสิ่งที่ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกจัดรูปแบบและประมวลผลเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในปัญหาที่ต้องการนำข้อมูลและสารสนเทศเหล่านี้ไปแก้ไข
          นอกจากนี้ยังมีนิยามของความรู้อีกด้านหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของข้อมูลและสารสนเทศคือความรู้ที่แฝงอยู่ในข้อมูลเป็นสิ่งที่สามารถสกัดจากสารสนเทศที่มีรูปแบบน่าสนใจเป็นจริงสำหรับข้อมูลใหม่หรือข้อมูลที่ไม่เคยเห็นก่อน


กระบวนการค้นพบความรู้ในฐานข้อมูล
การจัดการความรู้ (Knowledge management)
ในการบริหารองค์กรสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแต่ไม่สามารถประเมินคุณค่าเป็นตัวเงินได้คือความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงาน เนื่องจากในการทำงานการแก้ปัญหาการแสวงหาความรู้ การนำความรู้มาปรับใช้ จะต้องใช้ความรู้และทักษะเฉพาะอย่าง เพื่อทำงานให้ลุล่วงไปได้ ซึ่งการจะทำให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่นนั้น จะต้องใช้การอบรมเพื่อสร้างความรู้รวมถึงสร้างทักษะให้กับพนักงาน ซึ่งความรู้นั้นจัดเป็นทุนทางปัญญา (intellectual capital)



ตัวอย่างการจัดการความรู้ในองค์กร

ลักษณะของข้อมูลที่ดี ความถูกต้องของข้อมูล เป็นลักษณะสำคัญยิ่งของข้อมูลถ้าข้อมูลไม่ถูกต้องแล้ เราจะไม่สามารถได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องได้เลย ซึ่งประเด็นเป็นเรื่องสำคัญที่เกิดขึ้นโดนเฉพาะอย่างยิ่งกับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และไม่มีการตรวจสอบ เช่น ข้อมูลในโลกอินเตอร์เน็ต ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบก่อนจะนำมาใช้เสมอ



ตัวอย่างภาพข้อมูลเสียงที่เก็บจากไมโครโฟน
ความสมบูรณ์ครบถ้วนในการนำไปใช้งาน ข้อมูลบางประเภทหากไม่ครบถ้วน จัดเป็นข้อมูลที่ด้อยคุณภาพได้เช่นกัน เช่น ข้อมูลประวัติคนไข้ หากไม่มีหมู่เลือดของคนไข้ จะไม่สามารถใช้ได้ในกรณีที่ผู้ร้องขอข้อมูลต้องการข้อมูลหมู่เลือดของคนไข้ หรือข้อมูลที่อยู่ของลูกค้า ที่กรอกผ่านแบบฟอร์ม ถ้ามีแต่ชื่อและนามสกุลโดยไม่มีข้อมูลบ้านเลขที่ ถนน แขวง/ตำบล เขต/อำเภอ หรือจังหวัด ข้อมูลเหล่านั้นก็ไม่สามารถนำมาใช้งานได้




ตัวอย่างหน้าจอของเว็บไซค์ที่ต้องป้อนข้อมูลสองครั้ง เพื่อป้องกันความผิดพลาด
ความถูกต้องตามเวลา ในบางกรณีข้อมูลผูกกันอยู่กับเงื่อนไขของเวลา ซึ่งถ้าผิดจากเงื่อนไขของเวลาไปแล้ว ข้อมูลนั้นอาจลดคุณภาพลงไป หรือแม้กระทั่งอาจไม่สามารถใช้ได้ เช่น ข้อมูลการใช้ยาของคนไข้ในโรงพยาบาล ในทางการแพทย์แล้ว ข้อมูลนี้จะต้องถูกใส่เข้าไปในฐานข้อมูลที่คนไข้ได้รับยา เพื่อให้แพทย์คนอื่นๆ ได้ทราบว่า คนไข้ได้รับยาชนิดนี้เข้าไปแล้ว แต่ข้อมูลเรื่องการให้ยาของคนไข้นี้


ตัวอย่างข้อมูลการให้ยาคนไข้ในโรงพยาบาล
ความสอดคล้องกันของข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลมาจากหลายแหล่งจะเกิดปัญหาขึ้นในเรื่องของความสอดคล้องกันของข้อมูล เช่น ในบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งเก็บข้อมูลที่อยู่ของลูกค้า หากต้องการนำข้อมูลไปควบรวมกับบริษัทอีกแห่งหนึ่งซึ่งมีข้อมูลของลูกค้าอยู่เช่นกัน แต่ข้อมูลในการจัดส่งเอกสารของบริษัทแห่งแรก เป็นที่อยู่ของที่พักอาศัยของลูกค้า ในขณะที่ข้อมูลในบริษัทที่สองเป็นที่อยู่ของสถานที่ทำงานของลูกค้า ข้อมูลจากทั้งสองบริษัทเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง สอดคล้องตามเวลาทั้งคู่ แต่ถ้าต้องการเก็บข้อมูลที่อยู่ของลูกค้าเพียงที่อยู่เดียว ก็จะเกิดปัญหาขึ้นได้



ตัวอย่างของการไม่สอดคล้องกันของข้อมูล
การจัดเก็บข้อมูล
เมื่อเห็นความสำคัญของข้อมูลแล้ว ทำอย่างไรจึงจะเก็บรักษาข้อมูลเหล่านั้นให้คงอยู่ รวมถึงทำให้สามารถประมวลผลข้อมูลนั้นได้อย่างรวดเร็วโดยมากแล้วจะรวมไว้ในระบบฐานข้อมูล ซึ่งนำมาใช้ในการจัดเก็บ การเข้าถึงและการประมวลผล ข้อดีในการนำฐานข้อมูลไปใช้ในองค์กรหรือหน่วยงาน เช่น
-การจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถลดภาระการเก็บเอกสารที่เป็นกระดาษได้ รวมถึงการทำซ้ำเพื่อสำรองข้อมูล สามารถทำได้สะดวกและรวดเร็ว
-การตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลประวัติการบำรุงรักษารถยนต์และข้อมูลประวัติคนไข้ ผู้ใช้ที่ต้องการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน สามารถเข้าถึงระบบฐานข้อมูลและนำข้อมูลที่ต้องการไปใช้ได้


ข้อดีในการนำฐานข้อมูลไปใช้งานในองค์กร

ลำดับชั้นของข้อมูลในฐานข้อมูล
 ก่อนที่จะกล่าวถึงลำดับขั้นตอนของข้อมูลในฐานข้อมูลสิ่งแรกที่ต้องกล่าวถึงก่อน คือ ลำดับขั้นตอนล่างสุดของการแทนข้อมูล นั่นคือ การแทนข้อมูลด้วยตัวเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขสองตัวคือ 0และ 1ในทางคอมพิวเตอร์ จะเรียกว่าตัวเลขฐานสองหนึ่งหลักนี้ว่า 1  บิต (bit) ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยเล็กที่สุดของข้อมูล และหากนำบิตมาต่อกันจำนวน 8 บิต จะเรียกว่า 1 ไบต์ (byte)





ตัวอย่างการแทนข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
-เขตของข้อมูล(field) เมื่อนำข้อมูลระดับบิตมาเรียงต่อกันเพื่อแทนข้อมูลใดๆที่ต้องการเก็บในฐานข้อมูล
เราจะจัดข้อมูลที่เป็นบิตนี้มารวมกันเพื่อแทนความหมายบางอย่างหน่วยที่ย่อยที่สุดที่มีความหมายในฐานข้อมูลนี้เรียกว่า เขตข้อมูล โดยเขตข้อมูลอาจแทนข้อมูลดังตัวอย่างต่อไปนี้
-จำนวนเต็ม(integer) คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเก็บตัวเลขขนาด32บิตซึ่งขนาดของตัวเลขนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวเลข 2 ฐานขนาด 32 บิต สามารถแทนตัวเลข
-จำนวนทศนิยม (decimalnumber) ในคอมพิวเตอร์ จะเก็บตัวเลขทศนิยม โดยใช้ระบบโฟลทพิงพอยต์ (floating point) ซึ่งการเก็บในลักษณะนี้ ไม่มีการกำหนดตำแหน่งตายตัวสำหรับตำแหน่งของจุด โดยทั่วไปการเก็บข้อมูลตัวเลขจะมีสองขนาด คือ 32 บิตอละ 64 บิต
-ข้อความ (text) ในการแทนข้อความนั้น จะต้องเปลี่ยนข้อความให้เป็นรหัสซึ่งในการแทนตัวอักขระแต่ละตัวเสียก่อน ตามมาตรฐานโดยทั่วไปจะใช้เป็นรหัสแอสกี (ASCII code)
-วันเวลา (date/time) ข้อมูลที่เป็นเวลา เช่น วันที่เริ่มใช้งาน วันลงทะเบียน และเวลาที่ซื้อสินค้า มีความแตกต่างจากข้อมูลประเภทอื่น ดังนั้นจึงต้องมีชนิดของข้อมูลเป็นวันเวลา เพื่อรองรับเขตของข้อมูลที่ต้องการเก็บข้อมูลเป็นวันเวลา
-ไฟล์ (file) เขตข้อมูลบางประเภทใช้เก็บไฟล์รูปภาพหรือไฟล์อื่นๆ ซึ่งเขตของข้อมูลประเภทนี้จะเป็นเขตข้อมูลขนาดใหญ่ โดยปกติแล้วจะมีความยาวมากกว่าเขตข้อมูลประเภทอื่นๆ โดยเขตข้อมูลนี้จะเก็บข้อมูลในลักษณะเป็นบิตเรียงต่อกัน




ทะเบียน (record) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน โดยเขตข้อมูลแต่ละส่วนอาจจะเป็นข้อมูลต่างชนิดกัน ระเบียนแต่ละระเบียนจะประกอบด้วยโครงสร้างเขตข้อมูลที่เหมือนกัน


ตัวอย่างระเบียน
ตาราง (table)  คือ กลุ่มของระเบียน ซึ่งเขตข้อมูลในแต่ละระเบียนจะเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ในตารางจะเก็บข้อมูลหลายๆระเบียน แต่ละระเบียนจะมีโครงสร้างเหมือนกันในตาราง นอกจากจะเก็บข้อมูล
ตัวอย่างตารางข้อมูลนักเรียน



ฐานข้อมูล (database) เป็นที่รวมของตารางหลายๆ ตารางเข้าไว้ด้วยกัน ตารางแต่ละตารางจะมีความสัมพันธ์กันโดยใช้เขตของข้อมูลที่เก็บข้อมูลซึ่งเหมือนกันเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างกัน บางตารางอาจเป็นตารางที่เก็บข้อมูลไว้เฉพาะของตนเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับตารางอื่นๆ ในขณะที่บางตารางต้องเชื่อมโยงกับเขตข้อมูลของตารางอื่นๆ

ตัวอย่างฐานข้อมูลซึ่งส่วนหนึ่งใช้เก็บข้อมูลนักเรียน